ยินดีต้อนรับ

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

13 ธันวาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัยEAED2204

เวลา 8.30-12.20น.

คู่มือ คือ สิ่งที่ใช้บอกก่อนใช้งานเพื่อดำเป็นแนวทางในการใช้งาน
มาตรฐาน คือ สิ่งที่ให้เกิดความเชื่อถือ สิ่งที่มีคุณภาพ สิ่งที่ต้องการเป็แนวทางมีการใช้งาน

สสวท คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เครื่องมือในการเรียนรู้
       - ภาษา
       - คณิตศาสตร์

มาตรฐาานคณิตศาสตร์ คือ จำนวนและการดำเนินการ

กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์มีดังนี้
  การดำเนิน
        - เขียน
        - พูด
        - หยิบตัวเลขวาง
        - เส้นขนาน
การวัด คือ การหาค่าตอบโดยใช้เครื่องมือจัดหาค่า เช่น เวลา
รูปทรง
พืชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การทำตามแบบ วางที่เด็กจะต้องเข้าใจความสำคัญและ    
                   ตำแหน่งของสิ่งของต่างๆที่เป็นแบบรูปตัวอย่าง
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 
 
กลุ่ม 5 คน อ.จ๋า อันอัน  กลุ่ม 5 คน อ.จ๋า อันอัน

 

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6 ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EDEA2204
เวลา 08.30-12.20 น.
 
 
อาจารย์ให้นักศึกษาเอากล่องที่ตัวเองเตรียมม แล้วให้ดูว่ากล่องที่เตรียมมาเป็นรูปทรงอะไร
 
หลักการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
       -การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำ
การจัดประสบการณ์  คือ  การที่ให้เด็กสัมผัสด้วยตนเองแต่ต้องอยู่ในกรอบที่ครูวางไว้
    -เด็กจะคิดเล่นตามอิสระ
    -ถ้าเด็กทำไม่ได้ต้องช่วยเหลือสนับสุนน
 
 กล่องทำอะไรได้บ้าง
 
   1.นับ
   2.จับคู่  กล่องที่มีขนาดเท่ากัน
   3.เอาตัวเลขกำกับค่า
   4.วัดขนาดกล่อง
   5.เปรียบเทียบ
   6.เรียงลำดับ
   7.นำเสนอ (ข้อมูล)
   8.จัดประเภท   ต้องมีเกณฑ์ กล่องที่มีของกินได้ กับ กล่องที่มีของกินไม่ได้
   9.เนื้อที่   โดยนำดินน้ำมันมาวางใส่ในกล่องว่าได้กี่ก้อน
  10.เศษส่วน      ถามเด็กว่าเอากล่องมาทั้งหมดกี่กล่อง
                           กล่องที่ใส่ของมีทั้งหมดกี่กล่อง
  11.ปริมาณค่าคงที่    โดยการย้ายตำแหน่งให้เด็ก
  12.การทำตามแบบ
    
  *อาจารย์ให้เด็กจับกลุ่ม  กลุ่มละ 10 คน
       ให้คนที่ 1 วางกล่องแล้วคนต่อไปนำกล่องมาวางตรงไหนก็ได้ให้เป็นรูปต่างๆโดยแล้วแต่ผู้วางจะวางตรงไหน
       กลุ่มดิฉันได้วางเป็นรูปปิโตรเลียมไทย
    กลุ่มที่  2  รถแทรกเตอร์ 2013
    กลุ่มที่  3   หุ่นยนตร์โลโบ้
    กลุ่มที่  4   หนอน
 

       

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

29  พฤศจิกายน  2555
วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EDEA2204
เวลา 08.30-12.20 น.

         มาตรฐานในชีวิตประจำวัน คือ การวัด  เกณฑ์  ยอมรับได้  เชื่อถือได้
อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่เดิมที่ทำงานอาทิตย์ที่แล้ว และให้นั่งเรียงกันเป็นคู่ๆ คู่ดิฉันได้หัวข้อที่ 12      คือ การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
 
 สัญลักษณ์คณิตศาสตร์ คือ ตัวเลข
 
กลุ่มที่ 1  การนับ = การนับจำนวนสัตว์ เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ 
                               ได้จากการนับ   จำนวน   ตัวเลข    การแทนค่า
กลุ่มที่ 2  ตัวเลข = ให้นับจำนวนสัตว์ว่ามีกี่ชนิด มีกี่ตัว
                               ใช้แทนค่าให้กับลำดับที่
กลุ่มที่ 3 จับคู่ = ให้นักเรียนจับคู่สัตว์บก  สัตว์น้ำ
                           มีตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
กลุ่มที่ 4 การจัดประเภท = นำสัตว์บก สัตว์น้ำ มารวมกันให้เด็กแยกจำนวนสัตว์เป็น 2 กลุ่ม แล้วนับว่ามีกลุ่มละกี่ีตัว
กลุ่มที่ 5 การเปรียบเทียบ = แบ่งสัตว์ สัตว์น้ำ แล้วเปรียบเทียบว่าสัตว์กลุ่มไหนมากกว่ากัน
กลุ่มที่ 6 การจัดลำดับ = ลำดับจากเล็กไปใหญ่ จากเตี้ยไปสูง
กลุ่มที่ 7 รูปทรงและพื้นที่ = พื้นที่ของสัตว์
กลุ่มที่ 8 การวัด = ให้เด็กวัดคอยีราฟ วัดสิ่งต่างๆ นอกจากวัดตัวสัตว์แล้วใช้วัดอย่างอื่น เช่น วัดกรงสัตว์  วัดอาหาร
กลุ่มที่ 9 เซต = ให้จัดประเภทของสัตว์กินเนื้อ กินพืช
กลุ่มที่ 10 เศษส่วน = ให้เด็กรู้จักสัตว์ทั้งหมด เช่น สัตว์บกทั้งหมด  20 ตัว แบ่งครึ้่ง จะได้ 2 ส่วน เท่าๆกัน
กลุ่มที่ 11 การทำตามแบบหรือลวดลาย = นำสัตว์ทั้งหมดมารวมกันและให้เด็กทำตามแบบที่กำหนดไว้
กลุ่มที่ 12 ปริมาณคงที่ = นำปริมาณเท่ากันมาเทใส่แก้วทรงสูงและเตี้ยให้เด็กตอบ
                    การปั้นดินน้ำมันที่มีปริมาณเท่ากัน แต่ปั้นสัตว์คนละแบบ
กลุ่มที่ 13 จำนวน = ให้เด็กนับผักในตะกร้าแล้วบอกจำนวน
กลุ่มที่ 14 ตัวเลข = ให้เด็กนับผักว่ามีกี่จำนวน
กลุ่มที่ 15 จับคู่ = ให้เด็กจับคู่เลขกับจำนวนของผัก
กลุ่มที่ 16 การจัดประเภท = ให้เด็กแยกผักใบสีเขียวในตะกร้า ถ้าเป็นผักใบสีเขียวให้หยิบออกมา ถ้าไม่ใช่ให้ไว้ในตะกร้า
กลุ่มที่ 17 การเปรียบเทียบ = ให้เด็กนับจำนวน จับคู่
กลุ่มที่ 18 การจัดลำดับ = ลำดับของผักใบสีเขียว ที่หยิบออกมาจากตะกร้า
กลุ่มที่ 19 รูปทรงและเนื้อที่ = พื้นที่ของผัก และรูปทรงของผักใบสีเขียว
 
                  อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนความรู้สึกวันนี้  ว่านักศึกษาแต่ละคนรู้สึกอย่างไรที่เรียนวิชานี้  ในวันนี้

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

22  พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED2204
เวลา  08.30-12.20 น.

               อาจารย์ให้กระดาษ A4 แบ่งออกเป็น 4ส่วน วาดรูปเป็นสัญลักษณ์ของตัวเอง แล้วเอาไปติดหน้ากระดาษ (มาก่อน08.30 น.)  การออกไปติดกระดาษต้องเรียงให้ถูกต้องเพราะเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักการเรียงลำดับ การนับ  เปรียบเทียบเวลามาก่อน-หลัง
               สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  เลขฮินดูอารบิก  ตัวเลขแทนค่าจำนวน /ลำดับที่ 
               ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย             นิตยา  ประพฤติกิจ 2541    17-19

1.การนับ  Counting  มีทั้งนับเพิ่มและนับลด  นับรู้ค่าจำนวน  นับปากเปล่า
2.ตัวเลข  Number  เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ใช้แทนค่าและจำนวน เรียงลำดับ
3.การจับคู่  Matching รูปทรงความเหมือนของตัวเลขมีการใช้รูปทรง มีการเชื่อมโยง จำนวนกับจำนวน สัญลักษณ์ ทำให้รู้จำนวนคู่ จำนวนคี่
4.การจัดประเภท Classification ใช้เกณฑ์ในการจับกลุ่ม
5.การเปรียบเทียบ Comparing รู้จำนวนการเปรียบเทียบดดยการดูด้วยตา  จากนั้นด้วยการประมาณ ใช้เครื่องทือที่เป็นทางการ เช่น การนับ
6.การจัดลำดับ     เป็นการจัดหมวดหมู่
7.รูปทรงและเนื้อที่ Shape and Space มีความกว้าง ความสูง ความยาว  จะเกิดกระบวนการบรรจุปริมาณ
8.การวัด Measurement การใช้เครื่องมือ แบบธรรมชาติ แบบทางการ  ไม่เป็นการทาง  พื้นที่ความยาว
9.เซต Set จะมีการเชื่อมโยง
10.เศษส่วน Fraction ให้เด็กเห็นทั้งหมด  แบ่งเท่าๆกัน เช่น 5 กับ 5  แบ่งเป็นกลุ่มๆ เพราะสัญลักษณ์เป็นตัวเลข เป็นนามธรรม
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย Patterning เพื่อให้คนเข้าใจเหมือนกัน
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ Conservation การคิดวิเคราะห์ การคาดคะเน เปลี่ยนแปลงรูปร่างแต่ปริมาณยังคงเดิมอยู่

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

15 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED2204
เวลา 08.30-12.20 น.
 
         อาจารยให้จับกลุ่ม กลุ่มละ3 คน อธิบายความหมายของคณิตศาสตร์ จุดมุ่งหมายในการสอนคณิตศาสตร์ ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธีการสอนคณิตศาศตร์ ขอบข่ายคณิตศาสตร์  แและให้นักศึกษาทุกคนลิ้งค์บล็อกของตัวเอง 
         อาจารย์ได้พูดถึงจะทำอย่างไรให้เด็กกลับเข้าที่ได้เร็วที่สุด....
- จะร้องเพลงอะไรดี
- ตบมือ 1 ครั้งให้เด้กกลับเข้าที่
 
 เพลงที่ร้องได้เด็กๆรีบกลับเข้าที่ คือ
        กลุ่มไหน กลุ่มไหน รีบเร็วไว หากลุ่มกัน
        อย่ามัวรอช้ เวลาจะไม่ทัน
        ระวังจะเดินชนกัน เข้ากลุ่มทันว่องไว
 
 
สมาชิกกลุ่มดิฉัน
นางสาวทิวาภรณ์ กาหล
นางสาวจารุวรรณ  วงษ์ษา
นางสาวประทุม  ผิวอ่อนดี
 
   1.ความหมายของคณิตศาสตร์
             คณิตศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐาน ซึ่งเป็นการเรียนรู้สร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในวิถีชีวิตประจำวัน และคณิตศาสตร์ยังเป็นรากฐานเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่วิชาการใหญ่ๆมากมาย
 ชื่อหนังสือ   วิชาการสอนและวัดผลคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
ผู้แต่ง            สุรชัย  ขวัญเมือง

    2.จุดมุ่งหมายในการสอนคณิตศาสตร์
              1.สร้างเสริมประสบการณ์ให้เกิดมโนทัศน์คณิตศาสตร์ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเลขและเหตุผล
              2.สร้างความคุ้นเคยกับตัวเอง การนับ การเพิ่ม และการลด
              3.สร้างความคิดเชิงตรรกะหรือเหตุผลจกการมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบ  การจัดประเภท  รู้เวลา                 รู้ตำแหน่ง  รู้รูปทรง และขนาด
              4.ฝึกทักษะในการคิดคำนวณจากการนับ  การเปรียบเทียบหรือการจำแนกและรับรู้การแก้ปัญหา
              5.พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  3.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธีการสอนคณิตศาสตร์
            1.วิธีปาฐกถา หรือ วิธีบรรยาย   เป็นวิธีที่ครูบอกเล่าข้อเท็จจริงหรือกฎเกณฑ์ต่างๆให้แก่นักเขียนดยตรง
            2.วิธีอภิปราย  เป็นวิธีที่ครูและนักเรียนร่วมมือกันคิดค้นหาเหตุผลมาาสนับสนุน
            3.วิธีค้นพบ  เป็นการแนะนำให้เด็กค้นพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองเพื่อให้เกิดเป็นความรู้ใหม่
            4.วิธีสาธิต  เป็นการสอนโดยครูจะแสดงเนื้อหาหรือวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้นักเรียนดู
            5.วิธีอุปมาน  เป็นการหาค่าคุณสมบัติหรือหลักเกณฑ์ต่างๆ
            6.วิธีอนุมาน  เป็นวิธีการใช้กฎเกณฑ์คำจำกัดความกติกาหรือทฤษฎีมาปรับกับเหตุการณ์ที่เราพบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อพิสูจน์หรือข้อยุติใหม่
            7.วิธีการแก้ปัญหา  เป็นวิธีที่ครูกระตุ้นให้นักเรียนแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
            8.วิธีทดลอง  เป็นวิธีที่มุ่งให้นักเรียนกระทำโดยการสังเกต เป็นการนำรูปธรรมมาอธิบายนามธรรม
            9.วิธีสอนแบบบทเรียนโปรแกรมหรือบทเรียนสำเร็จรูปเป็นการสร้างบทเรียนขึ้นเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองโดยครูจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วย่อยๆและเป็นขั้นจากง่ายไปหายาก
  4.ขอบข่ายคณิตศาสตร์
             ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้มีอย่งน้อย 4 ทักษะ ดังนี้
                   1.การบอกตำแหน่งและการจำแนก เช่น มโนทัศน์ตำแหน่ง  การจัดประเภท  เปรียบเทียบ
                   2.การนับและจำนวน เช่น ตัวเลข การนับ การเรียงลำดับ กาวัด เวลา รูปทรงเรขาคณิต
                   3.การอ่านคำ เช่น เงิน การเพิ่ม การลด
                   4.การบอกเหตุผล บอกความสำคัญของเหตุกับผล และผลกับเหตุ

ภาพกิจกรรมทำงานกลุ่ม




วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

8 พฤศจิกายน 2555
วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED2204
เวลา 08.30-12.20 น.


      อาจารย์ได้สอนเรื่องการแบ่งกลุ่มให้ได้ 2 กลุ่ม จะแบ่งแบบไหนได้บ้าง
       -แบ่งตามสัปดาห์
       -แบ่งแบบนับ 1 2
       -แบ่งตามผมสั้น   ยาว  (ถ้าผมประมาณบ่าถือว่าสั้น  ถ้าเลยบ่าถือว่ายาว)
       -แบ่งแบบจับฉลาก
       -นับจับนวนทั้งหมดแล้วแบ่งให้เท่าๆกัน

     อะไรที่เป็นคณิตศาสตร์ในห้องเรียน

        โต๊ะ - รูปทรง
        หน้าต่างประตู  - รูปทรง
        จำนวนเงิน - ค่าเงิน
        หลอดไฟ  -  รูปทรง , จำนวน
        กระเป๋า  -  รูปทรง , รูปร่าง , น้ำหนัก , ความยาว , ความกว้าง
 

            การนับจำนวน  แล้วรู้ค่า  เขียนด้วยตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ (เลขฮินดูอารบิก)

            การเปรียบเทียบรูปทรงกับขนาดที่แตกต่างกันต้องใช้การคำนวณ
         เมื่อเราเห็นสิ่งของก็จะเกิดการ เปรียบเทียบ เมื่อเห็นสิ่งของใหญ่กว่า เล็กกว่าแล้วก็จะเกิดการคำนวณเพื่อให้รู้ว่าใหญ่เล็กกว่าเท่าไหร่
          การให้เด็กเกิดการเรียนรู้ต้องให้เด็กได้จับต้องของจริง
คณิตศาสตร์จะไม่เกิดขึ้นถ้าภาษายังบกพร่องเพราะภาษาจะเป็นตัวเผยแพร่ให้คณิตศาสตร์ออกไป

         4-6 ปี เด็ดเริ่มใช้เหตุผลจึงสามารถสอนแบบคิดได้เป็นการใช้ความสัมพันธ์จากประสบการณ์เดิมมาตามที่ตามองเห็น  เช่น 
 น้ำ 1 แก้ว เทใส่ในแก้วทรงสูงและเตี้ย

         เมื่อเทน้ำในแก้วสูงจะระดับสูงกว่าทรงเตี้ยและหากเด็กมองว่าทรงสูงมากกว่าทรงเตี้ยแสดงว่าเด็กใช้การคิดตามที่ตามองเห็น แต่ถ้าเด็กบอกว่าเท่ากันแสดงว่าเด็กให้เหตุผล

          สมองของเด็กทำงาน
                  เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็จะทำงานไปยังสมองจะได้ข้อมูลเป็นประสบการณ์ก็จะไปสอดคล้องกับความรู้เดิมก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและเเกิดเป็นความรู้ใหม่ก็จะเกิดการเรียนรู้และสามารถพัฒนาต่อยอดอันอื่นอีก
                   

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


1 พฤศจิกายน 2555
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED2204
เวลา 8.30-12.20 น.

ข้อตกลง

 -ห้ามเข้าเรียนเกิน 9.00 .  ถ้าหลังจาก 9.15 . ถือว่าขาด

-การแต่งกาย

 อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร คนละ 2 ข้อ 
           ดิฉันได้คิด คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ ให้เด็กได้ฝึกทักษะในการคิด คำนวณ และฝึกฝน เรียนรู้ด้วยตนเองทางสติปัญญา

 อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคดว่าวิชานี้น่าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอะไร


ในวิชานี้
             ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์เกี่ยวกับการคิดและทักษะสมองของแต่ละคน

พัฒนาการ  4 ด้าน  (เพียเจต์ การทำงานของสมอง)
                -สติปัญญา
                แรกเกิด – 2 ปี จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ลงมือกระทำเพื่อเก็บข้อมูล
                2 – 6ปี      2 – 4ปี เริ่มใช้ภาษาได้ดีขึ้น
                                4– 6ปี  เริ่มเป็นประโยคได้มากขึ้น สื่อสารได้มากขึ้น

วุฒิภาวะ กับ ความพร้อม ?
                ช่วงจังหวะและความพร้อมเข้าที่กันพอดีและไปควบคู่กัน
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตมลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
           พลิกตัว  คว่ำ  คลาน  คืบ  นั่ง  ยืน  เดิน  วิ่ง

วิธีการเรียนรู้     ให้อิสระที่จะเลือก
คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (ประสบการณ์)
                                สังเกต  ชิม  ฟัง  ดู  สัมผัส
การลงมือกระทำ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

การรับรู้  การได้ลงมือปฏิบัติกับวัตถุจากประสารทสัมผัสทั้ง 5 โดยความเข้าใจ
การเรียนรู้  การทำประสบการณ์เดิมมารับรู้ให้สัมพันธ์เกิดประสบการณ์เดิมด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  5 และเกิดความรู้ใหม่ขั้น ที่เกิดขึ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม