ยินดีต้อนรับ

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

14 กุมภาพันธ์ 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
     
                         
เวลา 08.30-12.20 น.
 
วันนี้อาจารย์ได้พาไปเข้าร่วมกิจกรรมขวดน้ำส่วนตัว ที่ลานแดงโดยมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมายเช่น ห่วงหารัก หลบลงหลุมและมีของรางวัลเป็นขวดน้ำ สมุดพก ปากกาเป็นต้น หลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่สักพักอาจารย์ก็มาสอนต่อที่ห้องเรียนวันนี้อาจารย์ให้ดูตัวอย่างการเตรียมสื่อที่จะสอน การจัดหาสื่อที่สอดคล้องกับแนวการสอน



7 กุมภาพันธ์ 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
                               เวลา 08.30-12.20 น.

วันนี้เพื่อนได้ออกมาสอนหน้าชั้นเรียน กลุ่มที่2 เรื่องต้นไม้วันที่1สอนเรื่องชนิดของต้นไม้

-แบ่งต้นไม้เป็น2ชนิดได้แก่ ต้นไม้ยืนต้นและต้นไม้ล้มลุก

วันที่2สอนเรื่องลักษณะของต้นไม้

-ต้นไม้ยืนต้นมีพื้นผิวขรุขระ มีสีน้ำตาลและสีดำ มีลักษณะลำต้นเป็นกิ่งเป็นก้านแตกออกไปมีรากแข็งใหญ่ส่วนต้นไม้ล้มลุกมีพื้นผิวเรียบ มีสีน้ำตาลและสีดำมีลำต้นเตี้ยมีรากฝอย

วันที่3สอนเรื่องส่วนประกอบและหน้าที่ของต้นไม้

1.ลำต้น -มีหน้าที่ชูกิ่ง ก้าน ใบ ดอกเพื่อรับแสงแดดในการปรุงอาหาร
-มีหน้าที่ลำเลียงน้ำและอาหารจากรากสู่ส่วนต่างๆของลำต้น
-มีหน้าที่พิเศษคือสะสมอาหารและขยายพันธุ์

2.ใบ -มีหน้าที่สร้างอาหารให้พืชด้วยการสังเคราะห์แสงแต่เพื่อให้เด็กอนุบาลเข้าใจต้องเรียกว่าปรุงอาหาร
-หายใจ
-คายน้ำ
-ดักแมลง

3.ราก -มีหน้าที่ยึดลำต้นและดูดซึมอาหาร

4.กิ่ง/ก้าน -มีหน้าที่ชูดอกและใบ

วันที่4สอนเรื่องประโยชน์ของต้นไม้
-ให้ร่มเงา
-เป็นแนวป้องกันลมพายุ
-เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์
-ให้ความสดชื่น

วันที่5สอนเรื่องอันตรายที่เกิดจากต้นไม้
-เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ
-พิษจากต้นไม้ที่ทำให้เกิดผื่นคัน
-ยางจากต้นไม้
-ต้นไม้ที่มีหนาม




วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



31 มกราคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
เวลา 08.30-12.20 น.





  วันนี้อาจารย์ได้แจ้งข่าวว่าวันที่ 10 กุมภาพันธ์       พ.ศ.2556 มีการจัดกีฬาสีเอกและงานเลี้ยงส่งพี่ปี 5 แล้วอาจารย์ก็ให้เพื่อนกลุ่มที่ 1 ฝึกสอนหน้าชั้นเรียน

กลุ่มที่ 1 สอนเรื่องดิน

วันที่ 1 สอนเรื่องชนิดของดินเพื่อนก็ได้นำเอาตัวอย่างดินมาลองให้จับและช่วยกันตอบว่าเรารู้จักดินอะไรบ้าง

วันที่ 2 สอนเรื่องลักษณะของดินเพื่อนถามว่ารู้จักดินกี่ชนิดชนิดใดบ้างพวกเราก็ช่วยกันตอบและเพื่อนก็นำตัวอย่างดินที่เตรียมมาให้ลองจับแล้วเพื่อนก็ถามต่อว่าดินมีสีอะไรบ้าง เนื้อดินมีลักษณะอย่างไรบ้าง

วันที่ 3 สอนเรื่องสิ่งที่อยู่ในดินเพื่อนก็ถามว่ามีอะไรอาศัยอยู่ในดินบ้างคะ พวกเราก็ตอบว่า หนอน เปลือกไม้ ไส้เดือน กิ้งกือ เป็นต้น และเพื่อนก็ได้ถามต่อว่าสิ่งใดมีชีวิตและไม่มีชีวิตบ้าง

วันที่ 4 สอนเรื่องประโยชน์ของดินเพื่อนถามว่าดินสามารถทำประโยชน์ใดได้บ้าง เราช่วยกันตอบว่าปลูกต้นไม้ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ สร้างบ้าน เป็นต้น

วันที่ 5 สอนเรื่องอันตรายที่เกิดจากดินเพื่อนถามว่าอันตรายใดบ้างที่เกิดจากดินเราก็ช่วยกันตอบว่าพยาธิเมื่อเราไม่สวมรองเท้าเวลาเดินบนดินจะทำให้พยาธิตัวขอเข้าสู่ร่างกาย

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

1. การที่เราถามเด็กก็เพราะให้เด็กได้คิดทบทวนประสบการณ์เดิมและเพื่อให้เด็กมีส่วนรวม

2. พอเด็กตอบอะไรมาจะถูกหรือผิด เราเป็นครูต้องรับฟังทุกคำตอบของเด็กและเขียนให้เด็กดูเพื่อให้เด็กดูเป็นแบบอย่างและให้คำชมเชยเด็ก

3. ส่วนมากแล้วครูอนุบาลจะเขียนสิ่งต่างๆลงบนกระดาษในขณะที่สอนเด็ก

4. เคล็ดลับการเขียน map ต้องเขียนจากขวาไปซ้ายและวางกระดาษในแนวนอนเขียนตัวหนังสือให้เป็นแนวเดียวกัน

5. การแยกกลุ่มคือการลบ

6. ก่อนจะแยกประเภทต้องนับจำนวนทั้งหมดก่อนแต่ถ้าไม่มีประเภทที่ชัดเจนให้แบ่งตามสีตามขนาดและต้องกำหนดเกณฑ์ก่อนแยกประเภท

7. การเปรียบเทียบถ้ามีของ 2 อย่างต้องเปรียบเทียบด้วยการหยิบออก 1:1 และถ้าเกิดความชำนาญแล้วสามารถใช้วิธีอื่นได้ตามถนัด แต่ที่สำคัญก่อนทำการเปรียบเทียบต้องเรียงข้อมูลก่อน

8. สื่อ คือ สิ่งที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้


 
17 มกราคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
เวลา 08.30-12.20 น.
วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงหลักการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยจะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่สำคัญกับเด็กดังนี้
ในการจัดประสบการณ์ต้องให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการเรียนรู้จากการลงมือกระทำ             ในการจัดประสบการณ์ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เด็กอย่างมีอิสระ
ในการจัดประสบการณ์ต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เช่น กิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งที่อยู่ในห้องเรียน และที่สำคัญต้องมีสาระสำคัญและประสบการณ์สำคัญที่ปรากฎอยู่ในหลักสูตรมาจัดเป็นกิจกรรมบูรณาการในการเรียนการสอน เช่น หน่วยผลไม้                                                                                           
หน่วยผลไม้
ผลไม้ที่อยู่ในตะกร้าทั้งสองตะกร้าแต่ละตะกร้าจะมีผลไม้ที่ทานได้ทั้งเปลือกและต้องปลอกเปลือกก่อนทาน ในเรื่องนี้ก็สามารถที่จะบูรณาการในการสอนทางคณิตศาสตร์ได้ในเรื่องของการแยกแยะ การเปรียบเทียบผลไม้ที่ทานได้ทั้งเปลือกและต้องปลอกเปลือกก่อนทานว่ามีจำนวนเท่าไร จะทำให้รู้ค่า และก็มีการกำกับเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
อาจารย์ทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้ของ สสวท. มีดังนี้
1.จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3.เรขาคณิต
4.พืชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์